ระบบลำเลียงแบบสุญญากาศส่วนใหญ่ทำงานภายใต้แรงดันสัมบูรณ์ตั้งแต่ 400 ถึง 800 mbar และนำมาใช้อย่างแพร่หลายใน การลำเลียงระยะทางสั้น ๆ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของฝุ่นในสายการผลิต ความดันสัมบูรณ์ต่ำสุดที่ใช้งานจริงในระบบ ลำเลียงอุตสาหกรรมอาจต่ำถึง 200 mbar โดยขึ้นอยู่กับปั๊มสุญญากาศที่ใช้ งานส่วนมากที่ต้องทำให้สำเร็จในการลำเลียงสุญญากาศก็คือการขนย้ายวัตถุดิบจากจุดแจกจ่ายหลายจุดไปรวมกันที่จุดรวบรวมหนึ่งจุด ซึ่งอาจเป็นถังตามที่แสดงในภาพด้านล่าง
เนื่องจากข้อจำกัดสูงสุดที่ Δp ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิน 800 mbar ระยะทางในการลำเลียงถูกจำกัดสำหรับ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ความยาวท่อขนส่ง 120 เมตรหรือน้อยกว่า นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานในระบบในการลำเลียงสุญญากาศ กำลังเผชิญกับความจริงที่ว่าปริมาณของวัตถุดิบที่ถูกขนย้ายต้องมีปริมาตรไม่เกิน 8 ลบ.ม. ปริมาตรที่มากกว่าที่กำหนดจะ ส่งผลให้อุปกรณ์มีราคาสูงเกินไป
วัตถุดิบเกือบทุกชนิดสามารถลำเลียงได้โดยการลำเลียงเฟสเจือจาง นี่คือวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายและคุ้มค่าในหลายกรณี เนื่องจาก วิธีนี้มีความเร็วในการลำเลียงที่ค่อนข้างสูงในท่อขนส่งผลิตภัณฑ์จึงทำให้มีการกระจายผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอและมีความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์จะเกิดการตกตะกอนต่ำ การลำเลียงเฟสเจือจางนั้นเหมาะสำหรับการขนย้ายวัตถุดิบเม็ดที่ทนต่อการเสียดสี โดยที่วัตถุดิบไม่ทำให้ท่อขนส่ง เกิดความเสียหาย เนื่องจากการลำเลียงเฟสเจือจางเป็นการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบด้วยการลอยตัวอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่ในเฟสความหนาแน่นสูง ในการลำเลียงท่อทำโดยใช้ความเร็วก๊าซที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยการลดน้ำหนักมวลของแข็งลง
การลำเลียงเฟสเจือจางอาจถูกนำไปใช้กับวัตถุดิบที่มีขนาดเท่ากันในปริมาณมากด้วยการกระจายขนาดวัตถุดิบ โดยที่ไม่มีความเสี่ยงในการคัดแยก เช่นวัตถุดิบเหล่านี้ น้ำตาล เกลือ แป้ง เม็ดพีวีซีดิบ เป็นต้น ตราบใดที่เราไม่ได้ผสมกับส่วนประกอบอื่นที่มีคุณสมบัติวัสดุที่แตกต่างกัน
ข้อเสียของการลำเลียงเฟสเจือจางที่สามารถพบได้คือการสึกหรอของท่อและเครื่องมือ สำหรับวัตถุดิบเม็ดที่แตกได้หรือวัตถุดิบ ที่จับตัวเป็นก้อนไม่เหมาะกับการลำเลียงวิธีนี้เนื่องจากการแตกตัวของวัตถุดิบ ยิ่งไปกว่านั้นการใช้พลังงานในการลำเลียงเฟส เจือจางนั้นมีข้อเสียเปรียบเนื่องจากต้องใช้อากาศหรือก๊าซสูงกว่าการลำเลียงเฟสหนาแน่น ทำให้ต้องใช้ปั๊มสุญญากาศที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าเช่นกัน
การลำเลียงสุญญากาศเฟสกึ่งหนาแน่นช่วยให้วัตถุดิบไหลผ่านบริเวณตกค้างของวัสดุ ซึ่งอนุภาคจะถูกเคลื่อนย้ายออกจาก ตะกอนโดยแรงดันจากความเร็วของก๊าซ แนะนำให้ใช้การลำเลียงระบบนี้เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน รักษาวัตถุดิบ ที่เสียหายได้ง่าย และป้องกันท่อขนส่งจากการสึกหรอ ในบางกรณีการลำเลียงเฟสหนาแน่นต้องใช้อัลกอริธึมในการควบคุม ที่ซับซ้อนกว่าการลำเลียงเฟสเจือจางอย่างง่าย เนื่องจากความดันของท่อจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อรักษาอัตราส่วนของ ของแข็งต่ออากาศให้คงที่ การใช้งานทั่วไปสำหรับวัสดุที่บอบบาง เช่น ยาเม็ด ผลิตภัณฑ์แผ่นบาง หรือข้าวที่ผ่านการอัดที่ต้องลำเลียงด้วยระบบสุญญากาศ
การลำเลียงเฟสหนาแน่นนั้นเหมาะสำหรับวัสดุที่มีน้ำหนักเบาเช่น โฟม หรือวัสดุที่มีฤทธิ์กัดกร่อนมาก เช่น เม็ดพลาสติกผสม ใยแก้วซึ่งมีปริมาณไฟเบอร์กลาสมากกว่า 40%. และผลิตภัณฑ์ที่มีความมันสูง เช่น เม็ดโกโก้ที่มีไขมันสูง ก็เหมาะกับการลำเลียงด้วยเฟสหนาแน่นที่มีความเร็วต่ำเช่นกัน ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนคือการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ที่มีความสูงสามารถทำได้ด้วยการโหลดอากาศขั้นต่ำ ทำให้มีการใช้พลังงานน้อยลงตามไปด้วย
เมื่อกล่าวถึงการลำเลียงส่วนผสมที่ไม่มีการแยกออกจากวัตถุดิบที่มีความหนาแน่นและขนาดของอนุภาคที่หลากหลาย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องลำเลียงด้วยระบบสุญญากาศเฟสหนาแน่น หากในการผลิตไม่สามารถผสมอีกครั้งก่อนบรรจุภัณฑ์ได้
การปรับปรุงเพิ่มเติมสามารถทำได้ด้วยการใช้อากาศอัดหรือการเติมก๊าซ ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของจุดปิดกั้นจากจุดจ่ายไปยังจุด รับวัตถุดิบ ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ถูกลำเลียงด้วยวิธีนี้จะถูกขนส่งโดยไม่มีการแยกออกอย่างแน่นอน AZO พัฒนาระบบ ของเราในการควบคุมการเคลื่อนที่ของจุดปิดกั้นเฟสหนาแน่น ด้วยการลำเลียงระบบเพิ่มสุญญากาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบ ชั้นนำของ AZO ทำให้สามารถลำเลียงวัตถุดิบได้เกือบทุกประเภท ระบบไฮเอนด์นี้ไม่แนะนำให้ใช้ในงานการลำเลียงทั่วไป